ฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาวิชาการ
(Division of Academic Strategies and Development)

การประเมินการเรียนการสอนออนไลน์ CU-CAS

การประเมินการเรียนการสอนออนไลน์ CU-CAS

การประเมินการเรียนการสอนเป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญสำหรับระบบประกันคุณภาพการศึกษา และทำให้ได้ข้อมูลสำหรับใช้ในการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดการเรียนการสอนว่าเป็นไปตามเป้าหมายและมาตรฐานของรายวิชาที่ได้มีการกำหนดไว้หรือไม่ โดยข้อมูลที่ได้จากการประเมินสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาทั้งผู้เรียนและผู้สอน โดยในส่วนของผู้สอนจะได้รับข้อมูลย้อนกลับที่สามารถทราบถึงความต้องการและความคาดหวังที่ผู้เรียนต้องการได้รับจากการเรียนรายวิชา และผู้สอนสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกันทั้งสิ่งที่ผู้สอนต้องการถ่ายทอดและสิ่งที่ผู้เรียนต้องการเรียนรู้ต่อไป นอกจากนี้ผลการประเมินดังกล่าวจะเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารของส่วนงานเพื่อใช้ในการประกอบการพิจารณาคุณภาพในการสอน การประเมินด้านวิชาการ หรือการปฏิบัติงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้สอน รวมถึงการนำไปใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุงหรือวางแผนการบริหารจัดการหลักสูตรด้วย ส่วนในด้านของผู้เรียนถือว่าผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยการแสดงความคิดเห็นหลังจากการเรียนในรายวิชาในมุมมองของผู้เรียน เพื่อสะท้อนให้ผู้สอนได้รับทราบถึงความคาดหวังและความต้องการจากการเรียนในรายวิชานั้น รวมทั้งยังเป็นการสะท้อนถึงประสิทธิภาพของผู้สอนอีกด้วย

การประเมินการเรียนการสอนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะทำการประเมินในทุกระบบภาคและทุกภาคการศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย

(1) ระบบทวิภาค ภาคการศึกษาต้น

(2) ระบบทวิภาค ภาคการศึกษาปลาย

(3) ระบบทวิภาค ภาคฤดูร้อน

(4) ระบบทวิภาค – นานาชาติ ภาคการศึกษาต้น

(5) ระบบทวิภาค – นานาชาติ ภาคการศึกษาปลาย

(6) ระบบทวิภาค – นานาชาติ ภาคฤดูร้อน

(7) ระบบตรีภาค ภาคการศึกษาที่ 1

(8) ระบบตรีภาค ภาคการศึกษาที่ 2

(9) ระบบตรีภาค ภาคการศึกษาที่ 3

ขั้นตอนการประเมินการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ CU-CAS มีดังนี้

(1) ฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาวิชาการ สำนักบริหารวิชาการ กำหนดค่าต่าง ๆ และช่วงเวลาในการประเมินการเรียนการสอนในแต่ละระบบภาคและภาคการศึกษาในระบบ CU-CAS

(2) ฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาวิชาการ สำนักบริหารวิชาการ แจ้งประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์ผู้สอน/เจ้าหน้าที่ส่วนงานที่ได้รับมอบหมายเข้าสู่ระบบ CU-CAS เพื่อทำการสร้างประมวลรายวิชา

(3) อาจารย์ผู้สอน/เจ้าหน้าที่ส่วนงานที่ได้รับมอบหมายดำเนินการสร้างประมวลรายวิชาในระบบ CU-CAS เพื่อให้นิสิตสามารถเรียกดูประมวลรายวิชาจากระบบ และเพื่อให้ระบบสร้างแบบประเมินเตรียมไว้สำหรับให้นิสิตเข้าทำการประเมิน

(4) ฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาวิชาการ สำนักบริหารวิชาการ แจ้งประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์ผู้สอน/เจ้าหน้าที่ส่วนงานที่ได้รับมอบหมายแจ้งให้นิสิตเข้าทำการประเมินในรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนและอาจารย์ผู้สอนทำการสร้างแบบประเมินไว้ พร้อมทั้งระบบจะมีการส่ง E-mail แจ้งเตือนอัตโนมัติให้นิสิตและอาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชาเข้าทำการประเมินตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในระบบ

(5) นิสิตเข้าทำการประเมินผู้สอน และผู้สอนเข้าทำการประเมินการสอนของตนเอง

(6) ฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาวิชาการ สำนักบริหารวิชาการ แจ้งประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์ผู้สอน/เจ้าหน้าที่ส่วนงานที่ได้รับมอบหมายติดตามการเข้าทำการประเมินของนิสิตเป็นระยะ ๆ ตลอดช่วงเวลาที่ระบบเปิดให้ทำการประเมินในแต่ละระบบภาคและภาคการศึกษา

(7) ระบบทำการประมวลผลและรายงานผลการประเมินการเรียนการสอน

(8) อาจารย์ผู้สอนสามารถเข้าตรวจสอบรายงานผลการประเมินการเรียนการสอน

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบการประเมินการเรียนการสอนออนไลน์ CU-CAS และการเข้าระบบ CU-CAS

avatar

ผู้รับผิดชอบ
ฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาวิชาการ สำนักบริหารวิชาการ
: 0-2218-0214
: DAD.OAA@chula.ac.th

รางวัลเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานด้านการเรียนการสอน
และรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ด้านการเรียนการสอน ประจำปี 2564

ตามที่มหาวิทยาลัยได้จัดให้มีการมอบรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติด้านการเรียนการสอน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ที่ปฏิบัติงานด้านการเรียนการสอนที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ มีความมุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละ
ทำประโยชน์ต่อวงวิชาการของประเทศ และสร้างชื่อเสียงให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้ดำเนินงานเป็นประจำ
ทุกปีนั้น สำหรับการดำเนินงานในปีนี้ มหาวิทยาลัยได้แบ่งรางวัลเป็น 2 ประเภท คือ

1. รางวัลเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานด้านการเรียนการสอนสำหรับอาจารย์รุ่นใหม่ โดยผู้ที่ได้รับ
การเสนอชื่อจะต้องปฏิบัติงานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3 - 5 ปี และมีผลงานการสอนต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 3 ปี
นับถึงปีการศึกษาที่พิจารณาให้รางวัล

2. รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ด้านการเรียนการสอน โดยผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจะต้องปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมาแล้ว 5 ปีขึ้นไป

ในการนี้มหาวิทยาลัยใคร่ขอให้ส่วนงานพิจารณาเสนอชื่อผู้ที่สมควรได้รับรางวัล ประเภทละ 1 คน ตามเกณฑ์
และคุณสมบัติที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยใช้แบบเสนอชื่อพร้อมทั้งแนบเอกสารประกอบการพิจารณาให้ครบทุกรายการตามที่กำหนด ไปยังฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาวิชาการ สำนักบริหารวิชาการ อาคารจามจุรี 5 ชั้น 6 ภายในวันจันทร์ ที่ 2 พฤษภาคม 2565 หากพ้นกำหนดดังกล่าวคณะกรรมการจะไม่รับพิจารณา ทั้งนี้มหาวิทยาลัยจะพิจารณาคัดสรรผู้สมควรได้รับรางวัลและประกาศผลรางวัลภายในเดือนกรกฎาคม 2565 โดยสามารถดาวน์โหลดแบบเสนอชื่อได้ทาง www.academic.chula.ac.th ในกรณีที่ส่วนงานไม่ประสงค์จะเสนอชื่อโปรดแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้สำนักฯ ทราบด้วย

รายละเอียด

ประกาศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การให้รางวัลเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศในการปฏิบัติงาน
ด้านการเรียนการสอนสำหรับอาจารย์รุ่นใหม่ กองทุนกาญจนาภิเษกเฉลิมพระเกียรติ ประจำปี 2564

ประกาศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การให้รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ด้านการเรียนการสอน
กองทุนกาญจนาภิเษกเฉลิมพระเกียรติ ประจำปี 2564

จรรยาบรรณของอาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แบบเสนอชื่อผู้สมควรได้รับรางวัลเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานด้านการเรียนการสอนสำหรับอาจารย์รุ่นใหม่ ประจำปี 2564

แบบเสนอชื่อผู้สมควรได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ด้านการเรียนการสอน ประจำปี 2564

 

 

รางวัลเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานด้านการเรียนการสอนสำหรับอาจารย์รุ่นใหม่
และรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ด้านการเรียนการสอน กองทุนกาญจนาภิเษก

รายละเอียด

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง รางวัลเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานด้านการเรียนการสอนสำหรับอาจารย์รุ่นใหม่ กองทุนกาญจนาภิเษกเฉลิมพระเกียรติ ประจำปี 2564

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ด้านการเรียนการสอน กองทุนกาญจนาภิเษกเฉลิมพระเกียรติ ประจำปี 2564

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง รางวัลเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานด้านการเรียนการสอนสำหรับอาจารย์รุ่นใหม่ กองทุนกาญจนาภิเษกเฉลิมพระเกียรติ ประจำปี 2563

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ด้านการเรียนการสอน กองทุนกาญจนาภิเษกเฉลิมพระเกียรติ ประจำปี 2563

รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ด้านการเรียนการสอน ประจำปี 2562

รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ด้านการเรียนการสอน ประจำปี 2561

ผู้รับผิดชอบ
ฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาวิชาการ สำนักบริหารวิชาการ
: 0-2218-0210
: asma.s@chula.ac.th

การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2564

ตามที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในทุกส่วนงาน ทุกระดับการศึกษา และทุกปีการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลการประเมินความพึงพอใจมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และตรงความต้องการของสังคมนั้น

ในการนี้เพื่อให้แต่ละส่วนงานสามารถนำผลการสำรวจไปใช้ในการประมวลข้อมูลพื้นฐาน (CDS: Common Data Set) ของ สปอว. มหาวิทยาลัยจึงใคร่ขอให้ส่วนงานดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2564 โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตของมหาวิทยาลัยที่จำแนกตามระดับการศึกษา (ปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง และปริญญาเอก) โดยจะต้องมีจำนวนแบบประเมินที่ตอบกลับไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของผู้สำเร็จการศึกษาในแต่ละระดับตามข้อกำหนด

หลังจากนั้นขอให้ส่วนงานทำการรวบรวมแบบประเมินที่ได้รับการตอบกลับจากผู้ใช้บัณฑิตไว้ และสรุปผลการสำรวจจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2564 พร้อมทั้งกรอกข้อมูลคะแนนผลการประเมินลงในไฟล์ Excel

จากนั้นให้ส่งไฟล์ Excel ดังกล่าวมายังฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาวิชาการ สำนักบริหารวิชาการภายในเดือนมีนาคม 2566 ที่อีเมล DAD.OAA@chula.ac.th

ทางมหาวิทยาลัยจะดำเนินการประมวลผลและจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และจะเผยแพร่ให้ส่วนงานเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไปภายในเดือนมิถุนายน 2566 (หากส่วนงานประสงค์จะสำรวจข้อมูลเพิ่มขอให้จัดทำเป็นเอกสารเพิ่มเติมและดำเนินการสำรวจได้เอง)

รายงานผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสรุปผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา แยกตามส่วนงาน